วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การออกแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะ










                                                                                 
                                                                              








วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ตัวอย่างกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย

               ขอขอบคุณเจ้าของชิ้นงานนำเสนอเพื่อเป็นตัวอย่างให้นักศึกษา
          
1.            การหยดสี
วัตถุประสงค์
       1) เด็กทดลองปฏิบัติกิจกรรมใหม่ ๆ
       2) เด็กแปลความหมายของภาพที่เกิดขึ้น
 วัสดุอุปกรณ์
     1) กระดาษสีขาว
    2) สีน้ำ สีฝุ่น หรือสีโปสเตอร์
 วิธีการ
 1) พับครึ่งกระดาษที่เตรียมไว้
 2) คลี่กระดาษที่พับออก หยดสีที่เตรียมไว้ลงบนกระดาษ เติมสีหลาย ๆ สีด้านเดียวของรอยพับ
3) พับกระดาษลงตามรอยพับเมและใช้มือรีดให้ทั่ว
4) ตกแต่งให้งดงามด้วยพู่กัน (หากไม่จำเป็น ไม่ควรแต่ง)
ข้อเสนอแนะ 1) การกดกระดาษภายหลังจากการหยดสีแล้ว ควรใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ทำรองด้านล่างและด้านบน เพื่อต้องการให้กระดาษที่จะกดหยุ่นตัว 2) การหยดสีบนกระดาษ ควรให้แต่ละสีอยู่ห่างกันพอสมควร ถ้าสีอยู่ใกล้ผสมกันมากไปจะไม่สดใสเท่าที่ควร
2.การเขียนภาพด้วยด้าย
วัตถุประสงค์
          1) เด็กทดลองกิจกรรมศิลปะที่ต้องใช้เครื่องมือ
         2) เด็กมีใจรักและทัศนคติที่ดีต่อวิชาศิลปะ
               วัสดุอุปกรณ์
                                1) ด้ายหลอดที่มีขนาดใหญ่พอควร
                                2) สีน้ำหรือสีโปสเตอร์
                               3) กระดาษวาดเขียน
             วิธีการ
                            1) ผสมสีที่เตรียมไว้ให้เหลวพอสมควร ไม่ควรเหลวมาก
                            2) นำด้ายที่เตรียมไว้ความยางประมาณ 6-10 นิ้ว จุ่มลงในสีเปียกทั่ว เว้นไว้ตรงมือจับประมาณ 1 นิ้ว แล้วนำไปวางบนกระดาษที่เตรียมไว้ในลักษณะให้ด้ายเป็นวงกลม โดยให้ปลายด้านโผล่ออกมาจากกระดาษ
                           3) นำกระดาษอีกแผ่นหนึ่งไปวางทับเชือก ใช้มือหนึ่งกดบนกระดาษบริเวณเชือกไม่แน่น แล้วใช้อีกมือหนึ่งดึงปลายเชือก
                           4) ยกแผ่นกระดาษแผ่นที่วางทับเชือก จะได้ภาพที่สวยงาม
 ข้อเสนอแนะ
 1) ควรใช้กระดาษหนังสือพิมพ์รองกระดาษทั้งด้านบนและด้านล่าง เพื่อให้กระดาษที่กดหยุ่นตัว
2) ถ้าต้องการหลาย ๆ สี ควรใช้เชือกหลายเส้น จุ่มสีวางลงบนกระดาษ และดึงหลายครั้ง
3) ควรให้สีแต่ละสีแห้งเสียก่อน จะทำให้ภาพที่ได้สวยงาม สีจะไม่สกปรก
3.การเทสีและการระบายสี
วัตถุประสงค์
             1) เด็กเลือกสีและใช้พู่กันระบายสี
             2) ให้รักษาความสะอาดและความประณีตในการทำงาน 
   วัสดุอุปกรณ์
                                 1) กระดาษวาดเขียน
                                2) สีน้ำ สีฝุ่น หรือสีโปสเตอร์
                                3) พู่กันระบายสี
               วิธีการ
                                  1) ผสมสีที่เข้มสีใดสีหนึ่งให้เหลวพอสมควร แล้วหยดบนกระดาษ
                                 2) เอียงกระดาษไปมาหลาย ๆ ครั้ง เพื่อให้สีไหลไปเป็นเส้นหลาย ๆ เส้น ตัดกันไปมาบนกระดาษ ปล่อยทิ้งให้แห้ง
                                 3) ใช้สีระบายลงไปตามช่วงต่าง ๆ ตามที่จะเห็นงาม 4) จะได้ภาพที่ต้องการ
                               ข้อเสนอแนะ การระบายสี ถ้าหากจะใช้สีน้ำหรือสีโปสเตอร์ระบายควรผสมด้วยสีขาวเล็กน้อยก่อนระบายลงไป จะทำให้สีสดใสมาก
              4.การขูดสีเทียน
วัตถุประสงค์
1) เด็กออกแบบและการจัดรูปทรง
                        2) วางแผนและการแก้ปัญหาในขณะที่ขูดสี
  วัสดุอุปกรณ์
1) กระดาษวาดเขียน
 2) สีเทียนสีต่าง ๆ
3) ใบมีด หวี และวัตถุที่มีปลายแหลม
 วิธีการ
1)     ใช้สีเทียนสีอ่อน ๆ ระบายลงบนกระดาษเพื่อเป็นพื้นหลัง การระบายสีควรระบายสีให้ทับกัน
เป็นแผ่นหลาย ๆ สีติดต่อกัน
 2) ใช้สีหนัก เช่น สีดำ ระบายทับหน้าให้เต็มกระดาษ
 3) ใช้วัตถุที่มีปลายแหลมขูดสีที่ทับหน้าออก ก่อนขูดควรจะคิดแบบเสียก่อนว่าจะขูดให้เป็น
รูปลักษณะอะไร และควรจะใช้อะไรขูด เช่น ปลายมีด หวี ฯลฯ
ข้อเสนอแนะ
                          1) หากเป็นเด็กเล็ก การระบายสีเทียนไม่ควรให้เด็กระบายในแผ่นใหญ่เกินไป เพราะจะทำให้เด็กเบื่อต่อการระบายให้เต็ม
                          2) การขูดสี ควรจะให้เด็กได้ทดลองขูดดูก่อนเพื่อจะได้รู้ว่า ลักษณะเส้นที่ขูดเป็นอย่างไร
5. การพิมพ์ด้วยวัสดุต่าง ๆ
วัตถุประสงค์
   1) เด็กพิจารณาวัสดุต่าง ๆ เพื่อทำแม่พิมพ์
   2) เด็กออกแบบและการตกแต่ง
    วัสดุอุปกรณ์
1) กระดาษวาดเขียนหรือกระดาษที่ทีสีอ่อน
 2) สีโปสเตอร์ หรือวีฝุ่น พู่กัน
3) เศษวัสดุอื่น ๆ เช่น เศษไม้ ฝาขวด กระดาษแข็ง
 วิธีการ
1) เตรียมกระดาษวาดเขียนหรือกระดาษสีสำหนับพิมพ์
2) ผสมสีเตรียมไว้ การผสมสีควรจะให้สีข้น
                       3) ใช้พู่กันจุ่มสีทาบนผิววัสดุที่จะพิมพ์ แล้วนำไปพิมพ์บนกระดาษ
                         4) การพิมพ์ ควรคำนึงถึงการจัดภาพและสีด้วย เช่น พิมพ์เป็นกลุ่มหรือเป็นลวดลายต่าง ๆ
                           ข้อเสนอแนะ ควรใช้กระดาษหนังสือพิมพ์รองพื้นให้หนาพอควรเพื่อให้กระดาษหยุ่นตัวขณะที่พิมพ์ จะทำให้ภาพที่ได้ชัดเจน
  
วัตถุประสงค์
               1) เด็กแสดงความคิดอย่างเสรี
               2) เด็กฉีกกระดาษและวิธีปะกระดาษในลักษณะต่างๆ
    วัสดุอุปกรณ์
           1)       กระดาษวาดเขียนและกระดาษสีต่าง ๆ กัน การฉีกกระดาษใช้มือทั้งสองจับกระดาษให้ห่างกัน
พอควรแล้วฉีกกระดาษลงรอยของกระดาษที่ฉีกจะไม่เรียบ ทำให้ดูสวยงาม
2) นำกระดาษที่ฉีกไว้มาทากาวทางด้านหลัง แล้วนำไปผนึกบนกระดาษวาดเขียน
3) การผนึก ขอให้นักเรียนใช้ความคิดว่าจะผนึกให้เป็นรูปอะไร ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปคน สัตว์ อาจ
เป็นภาพ Design ก็ได้
   ข้อเสนอแนะ การทาแป้งเปียก โดยเฉพาะกระดาษบาง ๆ ไม่ควรทาให้มาก เพราะกระดาษจะยึดตัว
ทำให้ผนึกหรือปิดไม่เรียบร้อย
7.ภาพกระดาษสีต่าง ๆ
วัตถุประสงค์
      1) เพื่อเพิ่มประสบการณ์ทางศิลปะให้เด็ก
      2) เด็กได้ทดลองใช้วัสดุใหม่ ๆ และรู้จักจัดรูปทรง
    วัสดุอุปกรณ์
    1) กระดาษสีต่าง ๆ อย่างบาง และกระดาษวาดเขียน
   2) ใบมีดตัดกระดาษ กรรไกร และแป้งเปียก
           วิธีการ
 1) ตัดกระดาษสีที่เตรียมไว้ให้มีขนาดต่าง ๆ กัน
2) นำกระดาษสีที่จัดไว้ทาแป้งเปียกแต่เพียงบาง ๆ แล้วนำไปติดบนกระดาษวาดเขียน
 3) การจัดกระดาษสี ควรจะให้ซ้อนกันบ้างเพื่อให้เกิดเป็นสีใหม่ และคำนึงถึงการจัดช่องไฟให้เหมาะสมด้วย
    ข้อเสนอแนะ เนื่องจากกระดาษสีมีเนื้อบางมาก การทาแป้งเปียกไม่ควรให้หนามาก เพราะจะทำให้เนื้อกระดาษยับย่นไม่น่าดู
7.การเขียนภาพด้วยนิ้วมือ
วัตถุประสงค์
     1) เด็กทำกิจกรรมใหม่ ๆ ด้วยการทดสองสี
     2) คิดและแสดงออกโดยเสรีอย่างสร้างสรรค์
        3) เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายอย่างเสรี
  วัสดุอุปกรณ์
1) กระดาษขาวมัน (กระดาษ 80 ปอนด์ หรือการะดาอาร์ด)
 2) สีฝุ่นหรือสีโปสเตอร์
 3) แป้งข้าวเจ้าหรือแป้งมัน
4) ชามใส่แห้งเปียกอ่างล้างมือ
 5) อ่างล้างมือ
 6) ช้อน
7) ฟองน้ำ (หรือผ้าสำหรับเช็ดมือ)
วิธีการ
 1) แป้งข้าวเจ้าหรือแป้งมัน (อย่างใดอย่างหนึ่ง)
 2) ละลายแป้งกับน้ำร้อนเสียก่อนจนสุกทั่วกัน (ข้นขนาดแป้งลงผ้า)
                     3) ใส่ผงซักฟอกลงไปพอประมาณ 4) เก็บใส่ขวดหรือภาชนะที่เตรียมไว้ (ถ้าต้องการเก็บไว้นาน ๆ ใส่สารกันบูด)
ข้อเสนอแนะ
 1) นำกระดาษที่เตรียมไว้ลงจุ่มลงในอ่างน้ำเพื่อให้กระดาษเปียกให้ทั่ว หรือใช้ฟองน้ำชุบน้ำทาให้ทั่วกระดาษ
2) นำกระดาษที่เปียกวางบนโต๊ะ เอากระดาษหนังสือพิมพ์กางปูบนโต๊ะเสียก่อนกันสีเปื้อนโต๊ะ
3) ใช้ช้อนตักสีที่ผสมไว้ลงบนกระดาษหลาย ๆ สี กองให้ห่างกันพอประมาณ
 4) ใช้ฝ่ามือหรืออุ้งมือละเลงสีให้ทั่วกระดา จะละเลงทีละสี ๆ ก็ได้จะใช้มือทั้งสองช่วยกันละเลงก็ได้


6.การฉีกกระดาษ

วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เรื่องน่ารู้เก็บมาฝาก

                                                 ศิลปะเด็กเขาตัดสินกันอย่างไร
ทำไมลูกผมจึงไม่ได้รางวัล?”

                                                                                                                                                                               อ.อรอนงค์  ฤทธิ์ฤาชัย


การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทางด้านศิลปะเด็กที่นิยมกันมากก็เห็นจะไม่พ้นเรื่องการจัดประกวดวาดภาพ ซึ่งมีรูปแบบอยู่ 2 ประการคือ ประการแรก ให้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวด ประการที่สองให้มาวาดประกวดกันสดๆ เดี๋ยวนั้นเลย ซึ่งมันมีช่องว่างค่อนข้างเยอะที่จะได้งานที่บริสุทธิ์จริงๆ ในกรณีแรกนั้นไม่สามารถทราบได้เลยว่าเป็นผลงานที่เด็กทำเอง หรือมีครู ผู้ปกครองมาคอยชี้แนะให้วาดอย่างนั้นให้ทำอย่างนี้ ส่วนประการที่สองดีขึ้นมานิดหนึ่งตรงที่ เราได้เห็นกระบวนการทำงานของเด็ก ที่สำคัญคือต้องไม่แจ้งหัวข้อให้เด็กทราบล่วงหน้าเพราะไม่เช่นนั้นก็จะไม่ต่างอะไรกับกรณีแรกที่ครูหรือผู้ปกครองมีส่วนมาช่วยแต่งเติมความคิดของเด็ก เท่ากับว่างานชิ้นนั้นเสียความบริสุทธิ์ไป คุณค่าของงานก็หายไปด้วย
ปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ในการจัดประกวดวาดภาพของเด็กก็คือ มักมีการแสดงความไม่พอใจเกิดขึ้นจากครูอาจารย์หรือผู้ปกครองของเด็ก เนื่องจากไม่เข้าใจในการตัดสินของกรรมการ   ผู้ปกครองท่านหนึ่งถึงกับบ่นออกมาว่า ทำไมลูกเขาถึงไม่ได้รางวัลประกวดวาดภาพครั้งนี้ ทั้งๆ ที่วาดภาพและระบายสีได้สวยเป็นระเบียบไม่ออกนอกกรอบเลยสักนิดและคงไม่ใช่มีผู้ปกครองเพียงท่านเดียวที่เคยบ่นหรือรู้สึกเช่นนี้ จากประสบการณ์ที่ได้รับเชิญให้เป็นกรรมการในการตัดสินการประกวดวาดภาพมาหลายปี เหตุผลที่เป็นเช่นนี้เพราะมีความเข้าใจในการประเมินผลงานศิลปะเด็กของผู้ปกครองกับกรรมการตัดสินยังไม่ตรงกัน ไม่ใช่แค่ผู้ปกครองเท่านั้น ครูอาจารย์ที่สอนศิลปะเองก็ยังไม่เข้าใจว่าทำไมลูกศิษย์ของตนจึงไม่ได้รับรางวัลหรือไม่ได้รางวัลที่คาดหวังไว้ บางครั้งก็แสดงอารมณ์ความไม่พอใจออกมา ประการที่สำคัญที่สุดก็คงด้วยใจที่ลำเอียงไปทางลูกหลานหรือลูกศิษย์ของตนเองมาเป็นอันดับแรก หรือในบางครั้งกรรมการตัดสินก็เห็นไม่ตรงกัน ด้วยใจที่มองว่าตนเองชอบภาพนั้นด้วยเหตุผลส่วนตัวของแต่ละคนไป หรือบางท่านเป็นศิลปินวาดภาพที่มีฝีมือฉกาจแต่อาจขาดความเข้าใจในศิลปะเด็ก ซึ่งต้องใช้เกณฑ์คนละอย่างมาวัดต่างจากศิลปะของผู้ใหญ่ที่เน้นในเรื่องของฝีมือมากกว่า ศิลปะจึงเป็นเรื่องยากที่จะมาตัดสินเหมือนคณิตศาสตร์ที่มีคำตอบตายตัวว่า 1+1= 2  ศิลปะไม่มีถูกผิดแต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีวิธีการประเมินหรือตัดสิน น้อยคนนักที่จะได้ทราบว่าเขาใช้หลักเกณฑ์ใดมาวัดหรือตัดสินกัน โดยส่วนตัวแล้วก็ไม่เห็นด้วยนักกับการจัดประกวดวาดภาพ  เพราะจุดประสงค์สำคัญของการทำงานศิลปะนั้นก็เพื่อให้เด็กได้มีพัฒนาการที่ดีทางร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา รวมถึงมีความสุข มีจินตนาการ และมีความมั่นใจในการแสดงออก แต่กลายเป็นว่าเด็กมุ่งหวังและให้ความสำคัญกับรางวัลมากกว่าสิ่งที่เขาควรจะได้รับ ครูก็เป็นบุคคลหนึ่งซึ่งคอยบีบคั้นเด็กในการทำงานศิลปะ เพราะถ้าเด็กได้รับรางวัลก็จะกลายเป็นผลงานของครูไปด้วย จึงมีความมุ่งหวังค่อนข้างมาก ทำให้เด็กบางคนเก็บอารมณ์ความรู้สึกเอาไว้ไม่ไหว ถึงกับร้องไห้ออกมาเพราะเสียใจที่ตนเองไม่ได้รางวัลที่หนึ่งทั้งๆ ที่เคยประกวดได้รางวัลที่หนึ่งมาตลอด หรืออาจจะร้องเพราะกลัวครูจะไม่พอใจก็เป็นได้ ศิลปะเป็นสิ่งง่ายที่เด็กจะได้สัมผัสและเรียนรู้ แต่กลับกลายเป็นการทำงานศิลปะด้วยความเครียดไป จะเห็นได้ว่าการพัฒนาด้านศิลปะเด็กในประเทศไทยยังคงวนเวียนอยู่เพียงแค่การประกวดวาดภาพเป็นส่วนใหญ่ ยังไม่เห็นความสำคัญและประโยชน์ของศิลปะที่แท้จริง ซึ่งในต่างประเทศจะให้การส่งเสริมทางด้านศิลปะเด็กค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ หรือเวลาในการสอน ประเทศไทยกลับมองว่ามีหรือไม่มีก็ได้ บางโรงเรียนไม่มีครูศิลปะและไม่มีวิชาศิลปศึกษาก็มี ทั้งนี้เพราะความเข้าใจที่มุ่งไปว่าคนเรียนเก่งมักต้องเรียนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ  ในเมื่อมุ่งเน้นและให้ความสนใจไปคนละทิศทางแล้ว มันก็ยากที่คนเรียนศิลปศึกษาที่เป็นคนกลุ่มเล็กๆ จะช่วยกันส่งเสริมและเผยแพร่ให้คนทั่วไปได้เข้าใจถึงความสำคัญของศิลปศึกษา  ถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไป ศาสตร์ อาจจะถูกกลืนหายไปในไม่ช้า
ได้มีนักวิชาการที่กล่าวถึงเกณฑ์ในการตัดสินผลงานศิลปะเด็กอยู่บ้าง ซึ่งน่าจะเป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อหลายๆ ฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นกรรมการตัดสิน ครูหรือผู้ปกครอง หรือแม้กระทั่งตัวเด็กเอง  เพื่อจะได้คลายข้อข้องใจต่างๆ และเข้าใจได้ตรงกัน จริงๆ อาจจะมีการตั้งเกณฑ์ขึ้นมาตามความเห็นชอบของคณะกรรมการตัดสิน ซึ่งอาจไม่ใช่หลักเกณฑ์เดียวกับที่จะนำเสนอให้ทราบ ทั้งนี้ก็แล้วแต่สถานการณ์และการปรับใช้  ไม่มีกฎระเบียบตายตัว ดังนั้นจึงอยากเสนอแนะให้ทราบเป็นกรอบความคิดไว้กว้างๆ เกี่ยวกับเกณฑ์การตัดสินการประกวดวาดภาพไว้ ดังนี้
   1.ด้านเนื้อหาเรื่องราวของภาพ กรรมการค่อนข้างจะให้ความสำคัญกับด้านเนื้อหาค่อนข้างสูง และ
พิจารณาเป็นอันดับแรกว่าตรงตามหัวข้อที่กำหนดไว้หรือไม่ หากผลงานชิ้นใดสามารถสื่อออกมาได้ชัดเจนและมีเนื้อหา
ตรงตามที่กำหนดไว้ก็จะได้รับการพิจารณาก่อน
 2.ด้านองค์ประกอบของภาพ ได้แก่
2.1  การร่างภาพ ได้แก่ ความสามารถในการร่างภาพ และร่างรายละเอียดหรือส่วนประกอบต่างๆ ของภาพ รวมไปถึง
ความมั่นใจในการแสดงออกในการใช้เส้น
2.2  การจัดภาพ ได้แก่ ความสมดุลของภาพ (ซ้าย-ขวา/บน-ล่าง) ความมีเอกภาพของภาพ (ควบคุมได้ไม่กระจัดกระจาย) และการเน้นจุดสนใจในภาพ
2.3  ทักษะการใช้วัสดุ ได้แก่ ความสามารถในการระบายสี การเลือกใช้คู่สีได้สวยงาม ความหลากหลายของสีในภาพ (เหมาะสม) การแทนค่าสีอ่อน-แก่ เรื่องการระบายสีค่อนข้างเป็นสิ่งสำคัญเพราะผลงานจะออกมาเห็นได้เด่นชัด อย่างที่กล่าวในข้างต้นว่าผู้ปกครองบางท่านสงสัยว่าทำไมลูกของตนระบายสีได้อย่างเรียบร้อยจึงไม่ได้รับรางวัลในการประกวด เด็กบางคนระบายสีดูเหมือนเลอะเทอะ กรรมการกลับคัดเลือกให้ได้รางวัล ทั้งนี้เนื่องจากกรรมการมองว่าเด็กได้แสดงออกอย่างบริสุทธิ์ไร้เดียงสา มีการ ระบายสีแบบแสดงร่องรอยฝีแปรง มีความมั่นใจในการแสดงออก ไม่ได้ถูกผู้ใหญ่บังคับหรือชี้นำให้ทำตาม  แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าครูจะต้องไปสอนให้เด็กระบายสีแบบเลอะเทอะเพื่อให้ได้รางวัล เพราะกรรมการต้องพิจารณาจากวัยของเด็กแล้วว่าสามารถระบายสีแบบเรียบร้อยได้หรือยัง
2.4  ความงามทางศิลปะ ได้แก่ ความกลมกลืนของเส้น สี พื้นผิว รูปร่าง
3. ด้านความคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ด้านเนื้อหา ด้านการใช้สี ด้านการจัดภาพ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องเป็นผลงานที่มีความโดเด่นแตกต่างจากคนอื่นๆ ที่เคยมีมา
4. ด้านการเปรียบเทียบผลงานกับพัฒนาการการวาดภาพของเด็ก โดยพิจารณาว่าผลงานเป็นไปตามพัฒนาการการวาด
ภาพของเด็กหรือไม่
5. มีความมั่นใจในการแสดงออก โดยดูจากการร่างภาพ การระบายสี เป็นต้น
6. ความบริสุทธิ์ของงานที่ปราศจากความคิดของผู้ใหญ่ชี้นำ ข้อนี้สำคัญมากเพราะเด็กที่ประกวดวาดภาพส่วนใหญ่มัก
ได้รับการฝึกฝนจากผู้ปกครองครูอาจารย์มาค่อนข้างดี ซึ่งอาจไม่ยุติธรรมกับเด็กที่คิดและสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมาเอง ดัง
นั้นกรรมการจึงควรจะมีความละเอียดในการพิจารณาเพื่อคัดเลือกผลงานที่ค่อนข้างมีความบริสุทธิ์ไร้เดียงสาให้ได้มากที่
สุด


                              ตัวอย่างผลงานจากการประกวดวาดภาพของนักเรียนระดับอนุบาล
                                                  ในหัวข้อ ธรรมชาติอันงดงาม
                                   ภาพที่ 1                                                    ภาพที่ 2
           

 


เมื่อเปรียบเทียบดูแล้วผลงานมีความใกล้เคียงกันมากจนแทบจะหาข้อแตกต่างได้ค่อนข้างยาก  ไม่ว่าจะเป็นในด้านเนื้อหาของภาพ ถ้าพิจารณาในด้านความคิดสร้างสรรค์แล้ว อาจบอกได้ว่าเด็กวาดภาพจากการที่ได้เคยเห็นแบบมาก่อน จึงวาดภาพลักษณะนี้ออกมา แต่ที่นำมาเป็นตัวอย่างเพราะหลายท่านข้องใจเกี่ยวกับการระบายสี คือ ระหว่างการระบายสีให้เรียบร้อยกับการระบายสีที่ค่อนข้างเลอะเทอะ  ผลงาน 2 ชิ้นนี้มีสิ่งที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดก็คือ การระบายสี ผลงานด้านซ้ายมือเมื่อดูโดยภาพรวมแล้วค่อนข้างเลอะเทอะ  ต่างกับด้านขวามือซึ่งระบายสีอย่างเรียบร้อยไม่ออกนอกกรอบเลย ถ้าเป็นเช่นนี้ เราอาจพิจารณาตามพัฒนาการในการวาดภาพของเด็กประกอบด้วย  ซึ่งโลเวนเฟนด์ ( Victor Lowenfeld) ได้กล่าวถึงพัฒนาการการวาดภาพของเด็กในระดับอนุบาลไว้ดังนี้
·       ขั้นขีดเขี่ย (อายุ 2-4 ขวบ)  คือเริ่มการขีดเขี่ยที่ปราศจากการควบคุม ต่อจากนั้นจะสามารถควบคุมมือให้เคลื่อนไหวซ้ำๆ กัน เป็นการเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา  หลังจากนั้นก็จะเริ่มกำหนดชื่อรูปทรงต่างๆ ที่สร้างขึ้น เปลี่ยนแปลงจากความพึงพอใจในการเคลื่อนไหว มาสู่การคิด จินตนาการ โดยเด็กจะเริ่มมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างภาพเขียนและโลกภายนอก  และตระหนักว่าวัตถุที่มองเห็นสามารถนำมาสร้างเป็นภาพได้
·       ขั้นเริ่มสัญลักษณ์ (อายุ 4-7 ขวบ) เด็กจะถือตัวเองเป็นศูนย์กลางของสิ่งต่างๆ สัญลักษณ์ที่ปรากฏในภาพขึ้นอยู่กับการรับรู้ของเด็กเอง เด็กเขียนภาพตามที่เขารู้ ไม่ใช่ตามที่เขามองเห็นเท่านั้น รูปทรงที่โปร่งใสหรือมีลักษณะเหมือนภาพเอ็กซ์เรย์ ชี้ให้เห็นว่า เด็กรับรู้อย่างไร ไม่ใช่เพียงการมองเห็นได้มุมใดมุมหนึ่งเท่านั้น ภาพเขียนจะแสดงถึงความสนใจต่อความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดบริเวณว่างบนพื้นภาพ เด็กเริ่มจะสนใจเส้นกับรูปร่างเรขาคณิตมากขึ้น
ทั้งนี้ไม่ใช่ว่าเด็กทุกคนจะต้องมีพัฒนาการทางการวาดภาพเท่าๆ กัน เด็กบางคนอาจจะต่ำกว่า หรือบางคนอาจจะมากกว่าขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและการส่งเสริมจากผู้ใหญ่อีกด้วย
จากผลงานทั้งสองภาพมองได้ว่าเด็กอาจจะได้รับการสั่งสอนจากครูว่าธรรมชาติอันงดงามควรมีองค์ประกอบใดในภาพบ้างเพราะเนื้อหาที่เด็กสื่อออกมาประกอบด้วยภูเขา พระอาทิตย์ บ่อน้ำ ถ้าพิจารณาโดยรวมแล้ว ผลงานทางด้านขวามือมีการทำงานที่ค่อนข้างเป็นระเบียบเรียบร้อย แต่เมื่อมองดูแล้วเหมือนกับขาดความมั่นใจในการวาดภาพไป เพราะทุกอย่างจะดูแข็งทื่อ ขาดเสน่ห์ ขาดความบริสุทธิ์ไร้เดียงสา และความอิสระของภาพไป ตรงกันข้ามกับผลงานทางด้านซ้ายมือที่ดูเหมือนจะมีความสนุกในการทำงาน มีความมั่นใจและไม่กลัวผิด แต่การวิเคราะห์ออกมาเช่นนี้อาจจะไม่ถูกต้องนัก จะให้ถูกต้องจริงๆ ต้องฟังการอธิบายผลงานจากตัวเด็กด้วยว่าเขาต้องการบอกอะไร ไม่ใช่ให้ผู้ใหญ่คาดเดาเอาเอง และควรมีการสังเกตพฤติกรรมการทำงานประกอบด้วยจึงจะรับรองการวิเคราะห์ได้ว่าไม่ได้เป็นการนึกเดาเอาเอง 
ความจริงได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่าไม่เห็นด้วยกับการจัดประกวดวาดภาพนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็กเล็กๆ ที่น่าจะเป็นการปล่อยให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระเสรี ไม่มีถูกผิด ไม่มีการเปรียบเทียบผลงานกันว่าใครดีกว่าหรือด้อยกว่าอย่างไร เพราะจะเป็นการทำลายความคิดและจินตนาการของเด็กไปโดยไม่รู้ตัว
อย่างไรก็ตาม อยากฝากให้ผู้ใหญ่ทุกคนได้ทำความเข้าใจเมื่อเด็กวาดภาพด้วยว่า ควรจะให้การส่งเสริมและให้กำลังใจเด็ก ดีกว่าการติ และบังคับให้เด็กทำตามอย่างที่ใจผู้ใหญ่ต้องการ เพราะนั่นเท่ากับว่าเป็นการบั่นทอนความคิดและจินตนาการของเด็กไป ซึ่งจะเป็นผลกระทบตามมาเมื่อเขาโตขึ้น

เอกสารอ้างอิง

ชัยณรงค์  เจริญพานิชย์กุล. (2533)  พัฒนาเด็กด้วยศิลปะ. กรุงเทพฯ : บริษัท แปลน พัลลิชชิ่ง จำกัด.
Lowenfeld,Victor,and W.Lambert Brittian. Creative and Mental Growth. The Macmillan Company,London,1970.