จำนวน เพิ่มขึ้นหรือมีการขยายมากขึ้น”
พัฒนาการ หมายถึง “กระบวนการของการเจริญเติบโตที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็น
ระบบ ระเบียบ ต่อเนื่องตามลำดับขั้นนำไปสู่การพัฒนาทางคุณภาพ” พัฒนาการของมนุษย์ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเจริญเติบโต ควบคู่กับการพัฒนาทางคุณภาพ อารมณ์ สติปัญญาและสังคม ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ (Piaget) (สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์.2545: 36 – 39). กล่าวถึง พัฒนาการทางสติปัญญาว่า มนุษย์มีความสามารถในการสร้างความรู้ผ่านการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ซึ่งปรากฏในตัวเด็กตั้งแต่แรกเกิด ความสามารถนี้คือ
การปรับตัว (Adaptation) เป็นกระบวนการที่เด็กสร้างโครงสร้างตามความคิด (Scheme) โดยมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับสิ่งแวดล้อม 2 ลักษณะคือ เด็กพยายามปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมโดยซึมซาบประสบการณ์(Assimilation)
การปรับโครงสร้างสติปปัญญา (Accommodation) ตามสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดความสมดุลในโครงสร้างความคิดความเข้าใจ (Equilibration) ความสามารถนี้เป็นส่วนสำคัญของโครงสร้างทางสมอง นอกจากนี้เพียเจต์ เน้นเรื่องการเรียนรู้เกิดขึ้นได้เมื่อเด็กมี ปฎิสัมพันธ์กับเพื่อนและผู้ใหญ่ในการเข้าสังคมนั้นๆ
พัฒนาการทางสติปัญญาตามทฤษฎีของเพียเจต์ เป็นไปตามลำดับขั้นดังนี้
อายุ 0 – 2 ปี ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว (Sensorimotor) เด็กเรียนรู้โดยใช้ประสาทสัมผัส เช่น ปาก หู ตา สิ่งแวดล้อมรอบตัว
อายุ 2 – 6 ปี ขั้นความคิดก่อนเกิดปฏิบัติการ (Intuitive or Preoperational) เรียนรู้
ภาษาพูด สัญลักษณ์ เครื่องหมาย ท่าทางในการสื่อความหมาย รู้จักสิ่งที่เป็นตัวแทน (Representation)
โครงสร้างสติปัญญาแบบง่ายๆ สามารถหาเหตุผลอ้างอิงได้มีความเชื่อในความคิดของตนเองอย่าง
มาก ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง (Egocentric) เลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่
อายุ 7 – 11 ปี ขั้นปฏิบัติการคิดแบบรูปธรรม (Concrete Operations) รับรู้รูปธรรม
ได้ดี ใช้เหตุผล สร้างกฎเกณฑ์ เห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ เป็นนามธรรมอายุ 11 – 16 ปี ขั้นปฏิบัติการคิดแบบนามธรรม (Formal Operations) รู้จักคิดหาเหตุผล มีระบบ คาดคะเน ตั้งสมมุติฐาน แก้ปัญหา พัฒนาการทางสติปัญญาอย่างสมบูรณ์ มีความคิดเท่าผู้ใหญ่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น