วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

หลักการจัดประสบการณ์ศิลปะ

                          สิริพรรณ ตันติรัตน์ไพศาล (2545: 40 – 41) มีนักการศึกษาได้ลำดับขั้นตอนการจัดประสบการณ์ศิลปะเด็กปฐมวัยไว้ ดังนี้
          1.ควรตั้งจุดประสงค์ในการเรียนรู้ให้กับเด็กโดยให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก
          2.กำหนดเนื้อหา                 
          3. การเตรียมก่อนจัดประสบการณ์
                 3.1 เตรียมแผนการสอน
                     3.1.1 จุดประสงค์
                     3.1.2 เนื้อหา
                     3.1.3 ระยะเวลา
                     3.1.4 สื่อการสอน
                     3.1.5 จำนวนเด็ก
                     3.1.6 จำนวนกิจกรรม
                     3.1.7 สถานที่
                 3.2 เตรียมอุปกรณ์การสอน
        4. ทดลองและตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้สร้างงานศิลปะซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ   เมื่อเด็กได้เห็นวัสดุอุปกรณ์ที่แตกต่างออกไป ทำให้เขาอยากหยิบจับขึ้นสัมผัส ทดลองใช้และเริ่มคิดหัวข้อในการสร้างงานศิลปะ ดังนั้นจึงควรให้เด็กได้ใช้อุปกรณ์ใหม่ๆและมีความหลากหลาย ฯลฯ ล้วนเป็นวิธีการที่เราต้องนำมาใช้ทั้งสิ้น สิ่งเร้าหรือสื่อต่างๆ นี้มีส่วนช่วยให้เด็กได้พัฒนาทางด้านความคิดรวบยอดในแต่ละเรื่องเพื่อนำไปควบคุมเส้นที่ขีดเขี่ยออก
       5.การเตรียมห้องเรียนศิลปะก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน  ห้องเรียนที่ดีควรมีโต๊ะเก้าอี้ที่ได้สัดส่วนเหมาะสมกับขนาดร่างกายของเด็กและสามารถเคลื่อนย้ายได้ตลอด  เนื่องจากบางกิจกรรมอาจจำเป็นต้องใช้โต๊ะมาต่อกันเพื่อให้ได้พื้นที่กว้างหรืออาจเป็นการใช้อุปกรณ์ร่วมกัน   เตรียมแบ่งจำนวนเด็กตามจำนวนกิจกรรม ฝึกความเป็นระเบียบวินัยในการเข้าแถวรับอุปกรณ์ และสับเปลี่ยนหมุนเวียนในการทำกิจกรรมจำนวนของโต๊ะเก้าอี้ควรเพียงพอกับจำนวนเด็ก    โต๊ะที่ใช้ปฏิบัติงานควรลบมุมให้เรียบร้อย  พื้นโต๊ะควรทำจากวัสดุคงทน เช่น โฟเมก้า หรือแผ่นโลหะเพื่อง่ายต่อการทำความสะอาด    ในห้องเรียนควรมีตู้เก็บอุปกรณ์หรือสื่อการสอนศิลปะโดยเฉพาะ  มีที่ตากผลงานเมื่อยังไม่แห้ง  และที่ติดตั้งแสดงผลงานที่ควรได้รับการชื่นชม  อ่างล้างมือสำหรับทำความสะอาด  สบู่  ผ้าเช็ดมือ  ถังขยะ ฯลฯ   กระดานไม้ขนาดเล็กสำหรับเด็กรองเขียนหรือเป็นฐานของงานปั้น  สุดท้ายคือผ้าคลุมกันเปื้อน เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กๆ ต้องพะวงกับการรักษาความสะอาดจนขาดสมาธิในการทำงาน  
         6. จัดประสบการณ์จริง ตามแผนการจัดประสบการณ์ และสาธิตการทำกิจกรรมใหม่ของแต่ละวัน
         7. ในการทำงานของเด็กโดยมีผู้จัดประสบการณ์ดูแลให้คำแนะนำช่วยเหลือแต่ไม่ชี้แนะตลอดจนการเขียน
ชื่อ  ลงวันที่การปฏิบัติให้แก่เด็กที่ยังเขียนชื่อเองไม่ได้  ลายมือในการบันทึกให้เด็กควรเป็นลายมือที่มีหัวเพื่อให้เด็กมีประสบการณ์ทางภาษาจากการเขียนของครู
        8. การเก็บ การรักษาและการทำความสะอาดฝึกให้เด็กช่วยกันเก็บอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ ให้เข้าที่
 เข้ากล่อง ลงตะกร้า เก็บผลงานเข้าที่ ฝึกเด็กให้ช่วยกันทำความสะอาด เช่น เก็บกระดาษหนังสือพิมพ์ที่ปูโต๊ะออก กวาดเช็ดทำความสะอาดเป็นต้น
        9. ประเมินผลงานเด็ก  โดยการเก็บผลงานและประเมินตามพัฒนาการซึ่งจะสะท้อนการเปลี่ยนแปลง
       10.ในกรณีที่เด็กไม่รู้จะวาดรูปอะไรดี  ผู้สอนต้องทำหน้าที่เป็นตัวเร้า  วิธีที่นิยมใช้คือการแนะนำหัวข้อให้วาด เช่น  สุนัขของฉัน,  ครูของฉัน,  บ้านของฉัน, คุณแม่ทำอาหาร, รถของคุณพ่อ,  ของเล่นของฉัน,  เพื่อนที่โรงเรียน,  ปลาในตู้กระจก ฯลฯ 
       11.หลังจากจัดประสบการณ์แล้วควรทำบันทึกหลังสอน โดยประเด็นที่ควรบันทึก ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ของเด็กตามจุดประสงค์ของการจัดประสบการณ์ การตอบสนองของผู้เรียนต่อการจัดประสบการณ์ ข้อสังเกตเกี่ยวกับสื่อ การออกแบบการจัดประสบการณ์ และลักษณะการเรียนรู้ของเด็ก แล้วนำผลที่บันทึกนี้มาใช้ในการปรับแผนการจัดประสบการณ์ในวันต่อๆ ไปให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น