ขอขอบคุณเจ้าของชิ้นงานนำเสนอเพื่อเป็นตัวอย่างให้นักศึกษา
1. การหยดสี
วัตถุประสงค์
1) เด็กทดลองปฏิบัติกิจกรรมใหม่ ๆ
2) เด็กแปลความหมายของภาพที่เกิดขึ้น
วัสดุอุปกรณ์
1) กระดาษสีขาว
2) สีน้ำ สีฝุ่น หรือสีโปสเตอร์
วิธีการ
1) พับครึ่งกระดาษที่เตรียมไว้
2) คลี่กระดาษที่พับออก หยดสีที่เตรียมไว้ลงบนกระดาษ เติมสีหลาย ๆ สีด้านเดียวของรอยพับ
3) พับกระดาษลงตามรอยพับเมและใช้มือรีดให้ทั่ว
4) ตกแต่งให้งดงามด้วยพู่กัน (หากไม่จำเป็น ไม่ควรแต่ง)
ข้อเสนอแนะ 1) การกดกระดาษภายหลังจากการหยดสีแล้ว ควรใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ทำรองด้านล่างและด้านบน เพื่อต้องการให้กระดาษที่จะกดหยุ่นตัว 2) การหยดสีบนกระดาษ ควรให้แต่ละสีอยู่ห่างกันพอสมควร ถ้าสีอยู่ใกล้ผสมกันมากไปจะไม่สดใสเท่าที่ควร
2.การเขียนภาพด้วยด้าย
วัตถุประสงค์
1) เด็กทดลองกิจกรรมศิลปะที่ต้องใช้เครื่องมือ
2) เด็กมีใจรักและทัศนคติที่ดีต่อวิชาศิลปะ
วัสดุอุปกรณ์
1) ด้ายหลอดที่มีขนาดใหญ่พอควร
2) สีน้ำหรือสีโปสเตอร์
3) กระดาษวาดเขียน
วิธีการ
1) ผสมสีที่เตรียมไว้ให้เหลวพอสมควร ไม่ควรเหลวมาก
2) นำด้ายที่เตรียมไว้ความยางประมาณ 6-10 นิ้ว จุ่มลงในสีเปียกทั่ว เว้นไว้ตรงมือจับประมาณ 1 นิ้ว แล้วนำไปวางบนกระดาษที่เตรียมไว้ในลักษณะให้ด้ายเป็นวงกลม โดยให้ปลายด้านโผล่ออกมาจากกระดาษ
3) นำกระดาษอีกแผ่นหนึ่งไปวางทับเชือก ใช้มือหนึ่งกดบนกระดาษบริเวณเชือกไม่แน่น แล้วใช้อีกมือหนึ่งดึงปลายเชือก
4) ยกแผ่นกระดาษแผ่นที่วางทับเชือก จะได้ภาพที่สวยงาม
ข้อเสนอแนะ
1) ควรใช้กระดาษหนังสือพิมพ์รองกระดาษทั้งด้านบนและด้านล่าง เพื่อให้กระดาษที่กดหยุ่นตัว
2) ถ้าต้องการหลาย ๆ สี ควรใช้เชือกหลายเส้น จุ่มสีวางลงบนกระดาษ และดึงหลายครั้ง
3) ควรให้สีแต่ละสีแห้งเสียก่อน จะทำให้ภาพที่ได้สวยงาม สีจะไม่สกปรก
3.การเทสีและการระบายสี
วัตถุประสงค์
1) เด็กเลือกสีและใช้พู่กันระบายสี
2) ให้รักษาความสะอาดและความประณีตในการทำงาน
วัสดุอุปกรณ์
1) กระดาษวาดเขียน
2) สีน้ำ สีฝุ่น หรือสีโปสเตอร์
3) พู่กันระบายสี
วิธีการ
1) ผสมสีที่เข้มสีใดสีหนึ่งให้เหลวพอสมควร แล้วหยดบนกระดาษ
2) เอียงกระดาษไปมาหลาย ๆ ครั้ง เพื่อให้สีไหลไปเป็นเส้นหลาย ๆ เส้น ตัดกันไปมาบนกระดาษ ปล่อยทิ้งให้แห้ง
3) ใช้สีระบายลงไปตามช่วงต่าง ๆ ตามที่จะเห็นงาม 4) จะได้ภาพที่ต้องการ
ข้อเสนอแนะ การระบายสี ถ้าหากจะใช้สีน้ำหรือสีโปสเตอร์ระบายควรผสมด้วยสีขาวเล็กน้อยก่อนระบายลงไป จะทำให้สีสดใสมาก
4.การขูดสีเทียน
วัตถุประสงค์
1) เด็กออกแบบและการจัดรูปทรง
2) วางแผนและการแก้ปัญหาในขณะที่ขูดสี
วัสดุอุปกรณ์
1) กระดาษวาดเขียน
2) สีเทียนสีต่าง ๆ
3) ใบมีด หวี และวัตถุที่มีปลายแหลม
วิธีการ
1) ใช้สีเทียนสีอ่อน ๆ ระบายลงบนกระดาษเพื่อเป็นพื้นหลัง การระบายสีควรระบายสีให้ทับกัน
เป็นแผ่นหลาย ๆ สีติดต่อกัน
2) ใช้สีหนัก เช่น สีดำ ระบายทับหน้าให้เต็มกระดาษ
3) ใช้วัตถุที่มีปลายแหลมขูดสีที่ทับหน้าออก ก่อนขูดควรจะคิดแบบเสียก่อนว่าจะขูดให้เป็น
รูปลักษณะอะไร และควรจะใช้อะไรขูด เช่น ปลายมีด หวี ฯลฯ
ข้อเสนอแนะ
1) หากเป็นเด็กเล็ก การระบายสีเทียนไม่ควรให้เด็กระบายในแผ่นใหญ่เกินไป เพราะจะทำให้เด็กเบื่อต่อการระบายให้เต็ม
2) การขูดสี ควรจะให้เด็กได้ทดลองขูดดูก่อนเพื่อจะได้รู้ว่า ลักษณะเส้นที่ขูดเป็นอย่างไร
5. การพิมพ์ด้วยวัสดุต่าง ๆ
วัตถุประสงค์
1) เด็กพิจารณาวัสดุต่าง ๆ เพื่อทำแม่พิมพ์
2) เด็กออกแบบและการตกแต่ง
วัสดุอุปกรณ์
1) กระดาษวาดเขียนหรือกระดาษที่ทีสีอ่อน
2) สีโปสเตอร์ หรือวีฝุ่น พู่กัน
3) เศษวัสดุอื่น ๆ เช่น เศษไม้ ฝาขวด กระดาษแข็ง
วิธีการ
1) เตรียมกระดาษวาดเขียนหรือกระดาษสีสำหนับพิมพ์
2) ผสมสีเตรียมไว้ การผสมสีควรจะให้สีข้น
3) ใช้พู่กันจุ่มสีทาบนผิววัสดุที่จะพิมพ์ แล้วนำไปพิมพ์บนกระดาษ
4) การพิมพ์ ควรคำนึงถึงการจัดภาพและสีด้วย เช่น พิมพ์เป็นกลุ่มหรือเป็นลวดลายต่าง ๆ
ข้อเสนอแนะ ควรใช้กระดาษหนังสือพิมพ์รองพื้นให้หนาพอควรเพื่อให้กระดาษหยุ่นตัวขณะที่พิมพ์ จะทำให้ภาพที่ได้ชัดเจน
6.การฉีกกระดาษ วัตถุประสงค์
1) เด็กแสดงความคิดอย่างเสรี
2) เด็กฉีกกระดาษและวิธีปะกระดาษในลักษณะต่างๆ
วัสดุอุปกรณ์
1) กระดาษวาดเขียนและกระดาษสีต่าง ๆ กัน การฉีกกระดาษใช้มือทั้งสองจับกระดาษให้ห่างกัน
พอควรแล้วฉีกกระดาษลงรอยของกระดาษที่ฉีกจะไม่เรียบ ทำให้ดูสวยงาม
2) นำกระดาษที่ฉีกไว้มาทากาวทางด้านหลัง แล้วนำไปผนึกบนกระดาษวาดเขียน
3) การผนึก ขอให้นักเรียนใช้ความคิดว่าจะผนึกให้เป็นรูปอะไร ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปคน สัตว์ อาจ
เป็นภาพ Design ก็ได้
ข้อเสนอแนะ การทาแป้งเปียก โดยเฉพาะกระดาษบาง ๆ ไม่ควรทาให้มาก เพราะกระดาษจะยึดตัว
ทำให้ผนึกหรือปิดไม่เรียบร้อย
7.ภาพกระดาษสีต่าง ๆ
วัตถุประสงค์
1) เพื่อเพิ่มประสบการณ์ทางศิลปะให้เด็ก
2) เด็กได้ทดลองใช้วัสดุใหม่ ๆ และรู้จักจัดรูปทรง
วัสดุอุปกรณ์
1) กระดาษสีต่าง ๆ อย่างบาง และกระดาษวาดเขียน
2) ใบมีดตัดกระดาษ กรรไกร และแป้งเปียก
วิธีการ
1) ตัดกระดาษสีที่เตรียมไว้ให้มีขนาดต่าง ๆ กัน
2) นำกระดาษสีที่จัดไว้ทาแป้งเปียกแต่เพียงบาง ๆ แล้วนำไปติดบนกระดาษวาดเขียน
3) การจัดกระดาษสี ควรจะให้ซ้อนกันบ้างเพื่อให้เกิดเป็นสีใหม่ และคำนึงถึงการจัดช่องไฟให้เหมาะสมด้วย
ข้อเสนอแนะ เนื่องจากกระดาษสีมีเนื้อบางมาก การทาแป้งเปียกไม่ควรให้หนามาก เพราะจะทำให้เนื้อกระดาษยับย่นไม่น่าดู
7.การเขียนภาพด้วยนิ้วมือ
วัตถุประสงค์
1) เด็กทำกิจกรรมใหม่ ๆ ด้วยการทดสองสี
2) คิดและแสดงออกโดยเสรีอย่างสร้างสรรค์
3) เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายอย่างเสรี
วัสดุอุปกรณ์
1) กระดาษขาวมัน (กระดาษ 80 ปอนด์ หรือการะดาอาร์ด)
2) สีฝุ่นหรือสีโปสเตอร์
3) แป้งข้าวเจ้าหรือแป้งมัน
4) ชามใส่แห้งเปียกอ่างล้างมือ
5) อ่างล้างมือ
6) ช้อน
7) ฟองน้ำ (หรือผ้าสำหรับเช็ดมือ)
วิธีการ
1) แป้งข้าวเจ้าหรือแป้งมัน (อย่างใดอย่างหนึ่ง)
2) ละลายแป้งกับน้ำร้อนเสียก่อนจนสุกทั่วกัน (ข้นขนาดแป้งลงผ้า)
3) ใส่ผงซักฟอกลงไปพอประมาณ 4) เก็บใส่ขวดหรือภาชนะที่เตรียมไว้ (ถ้าต้องการเก็บไว้นาน ๆ ใส่สารกันบูด)
ข้อเสนอแนะ
1) นำกระดาษที่เตรียมไว้ลงจุ่มลงในอ่างน้ำเพื่อให้กระดาษเปียกให้ทั่ว หรือใช้ฟองน้ำชุบน้ำทาให้ทั่วกระดาษ
2) นำกระดาษที่เปียกวางบนโต๊ะ เอากระดาษหนังสือพิมพ์กางปูบนโต๊ะเสียก่อนกันสีเปื้อนโต๊ะ
3) ใช้ช้อนตักสีที่ผสมไว้ลงบนกระดาษหลาย ๆ สี กองให้ห่างกันพอประมาณ
4) ใช้ฝ่ามือหรืออุ้งมือละเลงสีให้ทั่วกระดา จะละเลงทีละสี ๆ ก็ได้จะใช้มือทั้งสองช่วยกันละเลงก็ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น